Richard(ริชาร์ดใจสิงห์)

         พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ(8 กันยายน พ.ศ 1700 – 6เมษายน พ.ศ.1742)ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษระหว่างปี พ.ศ 1732 ถึง พ.ศ. 1742 มักถูกเรียกพระนามว่า          ริชาร์ดใจสิงห์  (Richard the Lionheart)

         เนื่องจากในสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษในหมู่ชาวชนบท และในวรรณกรรมก็มักจะกล่าวถึงพระองค์ในแง่นั้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงมีพระชนม์ชีพตรงกับต้นสมัยอาณาจักรเชียงแสน หรือ ก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยประมาณ 100 ปี     ริชาร์ดใจสิงห์เป็นโอรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายองค์ที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษดังนั้นจึงไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ทรงเป็นโอรสคนโปรดของพระมารดา คือพระนางเอเลเนอร์แห่งอากีแตน ผู้มีเชื้อสายฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในสตรีผู้มั่งคั่งที่สุดในยุโรปสมัยยุคกลาง   ชาร์ดเป็นโอรสองค์เล็กร่วมพระมารดาเดียวกันกับมารี เดอ ชองปาญจ์ และ อเล็กซิส แห่งฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นพระอนุชาของวิลเลียม เค้าท์แห่งปัวติเยร์ เฮนรียุวกษัตริย์ และ มาทิลดา แห่งอังกฤษ เป็นพระเชษฐาของจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี เลโอนอรา แห่งอากิเตน โจอาน ปลองตานเนต์ และ จอห์น แห่งอังกฤษ แม้ว่าจะประสูติที่พระราชวังโบมอนต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

         ต่อมา พระองค์ได้ถือเอาฝรั่งเศสเป็นประเทศบ้านเกิด เมื่อพระมารดาและพระบิดาแยกทางกันอย่างเป็นทางการ พระองค์
ได้อยู่ในการดูแลของพระมารดา และได้รับการแต่งตั้งจากพระนางให้เป็นดัชชีแห่งแคว้นอากิเตนในปีค.ศ. 1168 และแห่งแคว้นปัวติเยร์
ในปีค.ศ. 1172 อันเป็นรางวัลปลอบใจให้เนื่องจากเฮนรียุวกษัตริย์พระเชษฐาได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฏราชกุมารในระยะเวลาพร้อมๆกัน
ริชาร์ดและจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี พระเชษฐาได้เรียนรู้ที่จะปกป้องมรดกของตนเองตั้งแต่วัยรุ่น พระองค์เป็นผู้มีการศึกษาดี
สามารถแห่งบทกวีเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปรว็องซ์

                พระองค์ยังทรงมีรูปร่างหน้าตาดี ผมสีทอง ตาสีฟ้า สูงประมาณหกฟุตสี่นิ้ว (193 เซนติเมตร) โดดเด่นในกิจกรรมทางการทหาร และความสามารถทางการเมืองและการทหารต้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญและเด็ดเดี่ยว และสามารถควบคุมบุคคลชั้นสูงที่ไม่มีผู้ปกครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับโอรสอีกสองพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ริชาร์ดไม่ค่อยนับถือพระบิดาเท่าใดนัก อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ และ ความรับผิดชอบ ในปีค.ศ. 1170 เฮนรียุวกษัตริย์ ได้ขึ้นครองราชบังลังก์อังกฤษและทรงพระนามว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 3 นักประวัติศาสตร์จะเรียกพระองค์ว่า “เฮนรียุวกษัตริย์” เพื่อไม่ให้สับสนกับกษัตริย์องค์ต่อมาที่เป็นหลานของพระองค์ และ ทรงพระนามว่าเฮนรีเช่นกัน

บาเควโร(vaquero)บรรพบุรุษของพวกคาวบอย

                 สวัสดีครับ เพื่อนๆวันนี้เรามารู้จัก บรรพบุรุษของคาวบอย ซึ่งเรียกกันว่า ”บาเควโร” กันดีกว่าน่ะครับ

”บาเควโร”(vaquero)เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่ชำนาญการขี่ม้า และ ดูแลฝูงปศุสัตว์ในประเทศสเปนซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกลางของทวีปยุโรป หน้าที่หลักของพวกเค้าคือ การดูแลฝูงปศุสัตว์ให้กับเจ้าที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่า ”ฮาเซนดาดอส”(hacendados)ซึ่งเหล่าบาเควโร จะคอยดูแล ฝูงปศุสัตว์ให้หากินอยู่อย่างปลอดภัยในพื้นที่ของ เจ้าที่ดินนั้นๆ

                คงสงสัยกันว่า แค่ดูแลฝูงปศุสัตว์ทำไมต้องขี่ม้าด้วย เพราะ อาจเคยเห็นคนเลี้ยงวัวในเมืองไทย ก็เดินต้อนวัวไม่ต้องขี่ม้านี่น่า??

เหตุที่พวกบาเควโรต้องขี่ม้าก็เพราะฝูงปศุสัตว์ที่พวกเขาดูแลมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดมหาศาลเพื่อให้มีอาหาร (หญ้า) เพียงพอ ซึ่งนั้นเองเป็นเหตุผล เพราะให้เดินเท้า เพื่อดุแลฝูงปศุสัตว์ในพื้นที่กว้างขวางขนาดนั้นคงจะเหนื่อยตายซะก่อน เลยเป็นเหตุผลให้ต้องมีบาเควโรซึ่งต้องขี่ม้า ทำงานในหน้าที่ดังกล่าว

                พวกบาเควโรอยู่แต่สเปนจนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้เริ่มอพยพเข้าสู๋โลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) โดยเหล่า ควิสทาดอร์ (Con-quistadors ชาวสเปน ซึ่งเป็นทั้งทหาร นักสำรวจ และ นักผจญภัย) และ ผู้อพยพชาวสเปนได้นำวิธีการทำปศุสัตว์เข้าสู่ทวีปอเมริกาที่ซึ่งธรรมเนียมของบาเควโร ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพภูิมประเทศ สภาพแวดล้อม และ ปัจจัยทางวัฒนธรรมต่างๆในดินแดนแห่งใหม่ และ พวกเค้าก็เป็นบรรพบุรุษของคาวบอยในเวลาต่อมา

คาวบอย(Cowboy)คำนี้มีที่มาจากไหน

                    สวัสดีครับ เพื่อนๆวันนี้ผมจะมาบอกที่มาของคำว่า ”คาวบอย”(cowboy) น่ะครับ คำว่า ”คาวบอย”(cowboy)ซึ่งใช้เรียกกลุ่มคน ขี่ม้า ยิงปืน และต้อนฝูงสัตว์บริเวณดินแดนภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเมื่อครั้งยุคบุกเบิกนั้นคือคำสัพท์ในภาษาอังกฤษที่เพิ่งปรากฎครั้งแรกราวๆปี ค.ศ1715-1725 แปลมาจากคำว่า ”บาเควโร”(vaquero)ในภาษาสเปนที่ใช้เรียก กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าซึ่งทำหน้าที่ดูแล ปศุสัตว์(โดยเฉพาะฝูงวัว) ให้แก่ เจ้าของที่ดิน

                   หลายคนอาจจะสงสัย ทั้งๆที่เรามองคนกลุ่มนี้เป็นผู้ใหญ่แต่ทำไมเราถึงเรียกพวกเขาว่า ”คาวบอย” (cowboy-เด็กเลี้ยงวัวเพศชาย)ล่ะ ??

 สาเหตุที่ใช้คำว่า ”คาวบอย” เรียกว่ากลุ่มคนดุแลฝูงปศุสัตว์นั้น มีที่มาจากอายุเริ่มแรกของการฝึกฝนเพื่อเป็นคาวบอย โดยคาวบอยส่วนมากมักเริ่มอาชีพนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ เพื่อรับการฝึกฝนทักษะต่างๆของการเป็นคาวบอย ไม่ว่าจะเป็นการขี่ม้า การต้อนฝูงสัตว์ หรือ การใช้บ่วงบาศ แต่พวกเขาก็เป็นแค่คาวบอยฝึกหัดซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างจนกว่าพวกเขาจะมีความสามารถพอที่จะถูกจ้าง บ่อยครั้งที่คาวบอยฝีมือดีถูกจ้างตั้งแต่อายุ 12 – 13 ปี และเมื่อทำการว่าจ้าง คาวบอยส่วนมากก็มักจะประกอบอาชีพนี้ไปตลอดชีวิต ถ้าไม่พิการจากอาการบาดเจ็บ หรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นซะก่อน

กำเนิดซามูไร

                  สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกท่านวันนี้ผมขอนำเสนอ เรื่องการกำเนิดของซามูไรน่ะครับ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อกันว่า จุดเริ่มต้นของซามูไรนั้นมีที่มาจากรูปแบบนักรบของญี่ปุ่นแต่เดิม

         เช่น พลธนู พลเดินเท้า ของในช่วงคริสต์ศตวรษที่ 6 เมื่อกลางคริสต์ศวรรษที่ 7 ญี่ปุ่นได้เริ่มมีการรับวัฒนธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ถังเข้ามา และ เริ่มมีการปฏิรูปการปกครอง และ

         สังคมตามแบบราชวงศ์ถังทำให้อิทธิพลของลัทธิขงจื้ออันเป็นแกนหลักของวัฒนธรรมจีนซึ่งสังสอนในเรื่องของความภักดีต่อเจ้านาย ซึ่งคำสอนเหล่านี้ถูกประยุกต์เป็นหลักขอบูชิโด     (วิถีนักรบ)เข้ามายังประเทศญี่ปุ่นด้วย

                  หลังการปฏิรูปการปกครองได้ไม่นานก็ได้มีการประมวลกฎหมายไทโฮออกมาใน ค.ศ702 ซึ่งมีการกำหนดขุนนางออกเป็น 12 ระดับ โดยกลุ่มนักรบที่เรียกว่า ซามูไรนั้นอยู่ใน

         ลำดับที่ 6 ลงมาจนถึงลำดับ 12 ส่วนเหนือกว่านั้นขึ้นไปเป็นขุนนางในราชสำนักที่คอยช่วยเหลือจักรพรรดิบริหารบ้านเมือง ช่วงนี้เรียกว่า ”สมัยเฮอัน” ซึ่งเป็นยุคที่อำนาจสูงสุดใน

         การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ในมือของจักรพรรดิ และ ราชสำนัก จนกระทั่งเวลาผ่านไปจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยเกิดความวุ่นวาย และ การกบฏ

         ของหัวเมืองต่างๆขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้จักรพรรดิมอบอำนาจให้นักรบเพื่อคอยปราบปรามหัวเมืองที่แข็งข้อ และด้วยสาเหตุนี้เอง นัรบของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ”ซามูไร” จึงเริ่มมีอำนาจเพิ่มขึ้น