Miyamoto Musashi

        มิยะโมโตะมุซะชืกิดในช่วงปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองฮะริมะ (Harima) เป็นซามูไร ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคนหนึ่ง ว่ากันว่าเขาไม่เคยดวลแพ้ใครโดยการดวลที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการดวล  กับ ซะซะกิ โคะจิ

         มิยะโมโตะมุซาชิ ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ มีชีวิตอยู่ในราว ค.ศ. 1584-1645 จากประวัติการต่อสู้กว่า 60 ครั้ง ไม่เคยแพ้เลยแม้แต่ครั้งเดียวนั่นไม่ใช่โชคช่วย แต่เป็นเพราะฝึกฝนมาอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะการฝึกจิตเพื่อเอาชนะศัตรูภายในตนเอง จนกระทั่ง”มีความสามารถที่จะรบชนะ”  และเป็นผู้แต่งหนังสือกลยุทธ์การต่อสู้ ชื่อว่า คัมภีร์ห้าห่วง ซึ่งทั่วโลกยอมรับว่าเป็นผลงานอัจฉริยะ มูซาชิ มิได้มีแค่ชัยชนะในสมรภูมิเท่านั้น หากเป็นทั้งการแสวงหาทางด้านจิตวิญญาณ-ความหมายแห่งชีวิต และความเป็นเลิศในเชิงดาบไปพร้อม ๆ กัน

          เขาของซามูไรบ้านนอกขาดแม่ และในวัยเด็กทำท่าว่าจะเป็นคนที่เอาดีไม่ได้ อย่างไรก็ตามลักษณะเด่นของมูซาชิคือเป็นคนบึกบึนไม่ยอมแพ้ใครซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของนักรบ สำหรับการเป็นนักรบนั้นแตกต่างจากนักฆ่าโดยสิ้นเชิง นักรบเห็นคุณค่าของชีวิตไม่ว่าของตนเอง หรือของผู้อื่น ไม่โอ้อวดเสี่ยงภัยอย่างไร้สาระ พร้อมเสียสละชีวิตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่เหมาะสมจริง ๆ  มูซาชิเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลของสมองทั้งสองข้าง ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ใช้ดาบได้อย่างคล่องแคล่วทั้งสองมือ
ดาบคู่ของเขานั้นยังสั้นข้าง-ยาวข้าง ด้วยการชี้แนะของพระเซนรูปหนึ่งที่ชื่อ ทากุอัน มูซาชิได้เลิกนิสัยมุทะลุดุดันชอบเอาชนะแบบบ้าเลือด แล้วหันมาแสวงหาหนทางการเป็นนักสู้ที่แท้จริง การใช้กำลังกับภูมิปัญญามิใช่สิ่งแยกออกจากกันได้ มูซาชิอ่านทุกอย่างตั้งแต่ประวัติศาสตร์ปรัชญามาจนถึงตำราพิชัยสงคราม ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกควบคุมตัวเองให้รู้จักสงบนิ่งเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์อันเลวร้าย   มูซาชิได้ค้นพบว่าหนทางแห่งนักรบนั้นแยกไม่ออกจากหนทางแห่งความเป็นคน ความเป็นเลิศในเพลงดาบคือสิ่งเดียวกับความงาม ความสงัดสุข และความดี พูดอีกนัยหนึ่งคือ มูซาชิจะไม่สามารถบรรลุความเป็นเลิศในฝีมือได้ถ้าหากเขาไม่แสวงหาทางหลุดพ้นในระดับจิตวิญญาณไปพร้อมๆกัน  ท่ามกลางการฝึกฝีมือดาบ มูซาชิได้เรียนรู้การวาดภาพ การแกะสลัก การเขียนบทกวี ตลอดจนสิ่งประณีตละเอียดอ่อนอีกหลาย ๆ อย่าง ในที่สุดเขาก็ค้นพบว่าทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเดียวกัน ” มันคือศักยภาพของความเป็นคน ”
จากเด็กหนุ่มที่บ้าเลือดไร้ทิศทาง มูซาชิค่อย ๆ กลายเป็นหนุ่มใหญ่ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ละเอียดอ่อนทั้งกับผู้อื่นและตัวเอง เขาเติบโตพ้นเรื่องของศักดิ์ศรีหน้าตาที่เป็นเพียงเปลือกนอก ตลอดจนลาภ ยศ สรรเสริญทั้งปวงอันนี้ทำให้มูซาชิสามารถหลีกเลี่ยงสมรภูมิที่ไม่จำเป็นได้โดยไม่แยแสกับเสียงติฉินนินทา ทว่ายามใดที่ต้องรบ เขาก็สามารถรบได้ด้วยความสงบนิ่งดุจภูผา ศัตรูคนแล้วคนเล่าร่วงล้มด้วยเพลงดาบไร้สำนักของเขา กระทั่งชื่อมูซาชิกลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

   แม้ยามที่มีชื่อเสียงแล้วก็ตาม มิยาโมโตะ มูซาชิก็ยังใช้ชีวิตเหมือนนักพรตผู้ถือดาบ กินอยู่สมถะ นุ่งเจียมห่มเจียม ครองตัวเป็นนักดาบไร้สังกัดปราศจากฐานะตำแหน่งใด ๆ ในวงจรอำนาจซึ่งกำลังแก่งแย่งชิงดีกันอย่างเอาเป็นเอาตาย

   มิยะโมะโตะ มุซะชิ เสียชีวิตในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2188 ในเมืองฮิโกะ (Higo) ด้วยวัย 61 ปี

Hannibal Barca

            ฮันนิบาล บาร์กา เป็นรัฐบุรษของชาวคาร์เทจ และเป็นแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในโลกยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยปราศจากความพ่ายแพ้เป็นเวลานานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ 

            บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ
ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน  ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล       นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324
แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และ ในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจ
และสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจาก
ภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา

                 อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย  ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส
(ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลง
ด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา

                 แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเลย

Leonidas (เลโอไนดาส)

              เลโอไนดาสที่ 1 เป็นกษัตริย์ของชาวสปาร์ตัน ซึงนำกำลังทหารนักรบสปาร์ต้าจำนวนไม่มากนัก ไปต่อต้านกำลังทหารที่มีมากมายซึ่งมาจากจักรวรรดิเปอร์เซียที่ยกทัพมารุกรานนครรัฐกรีก  ประมาณปี พ.ศ 63 (480 ปีก่อนค.ศ.) กองทัพเปอร์เซียของกษัตริย์เซอร์ซิสที่1 ได้นำกองทัพขนาดมหาศาลจำนวน500,000คน (ทัพบก250,000 ทัพเรือ250,000)เข้าตีดินแดนกรีกทางเขตมาซีโดเนีย เพื่อเป็นการล้างแค้นแทนพระบิดาของตน(กษัตริย์ดาริอุส) ที่เคยพ่ายแพ้สงครามแก่พันธมิตรแห่งกรีกในสงครามเปอร์เซียครั้งแรก(พ่ายแพ้การยุทธที่มาราธอน) และเป็นการเปิดฉากสงครามเปอร์เซียครั้งที่ 2

               ด้วยความเข้มแข็งของทัพเปอร์เซียและแผนของแม่ทัพกรีกที่จะถ่วงเวลาเพื่อรวบรวมกำลัง กรีกจึงต้องยอมเสียเมืองเล็กเมืองน้อยให้ฝ่ายเปอร์เซียยึดไล่มาเรื่อยจนทัพเปอร์เซียมาถึงบริเวณช่องเขาแห่งหนึ่งคือ “เธอร์โมไพลาย”(Thermopylae) ซึ่งเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนจะถึงนครเอเธนส์ ช่องเขานี้เองจะกลายเป็นสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดแห่งหนึ่งในสงครามครั้งนั้น ตอนนี้ทัพเปอร์เซียต้องมาเจอกับกองกำลังผสมของทหารเอเธนส์-สปาร์ตา-นครพันธมิตร จำนวน7,000นายซึ่งนำมาโดยกษัตริย์ “เลโอนิดาส” แห่งสปาร์ตาผู้เจนศึก แต่จำนวนทหารสปาร์ตาที่เชี่ยวชาญสงครามนั้นมีจำนวนแค่น้อยนิด เพราะว่าเวลานั้นเป็นช่วงเทศกาล”คาร์เนี่ยน”
ที่ชาวสปาร์ตาเขาถือกันว่าไม่ควรออกทำศึก ทหารสปาร์ตาที่มาจึงเป็นกองกำลังเล็กๆ ของเลโอนิดาสที่คัดเลือกมานั่นเอง(เทศกาล”คาร์เนี่ยน”จัดขึ้นในสปาร์ตายุคโบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าอะพอลโล่ โดยเมื่อถึงเวลาชาวสปาร์ตาจะเก็บตัวและจัดงานฉลองอยู่ในบ้านเมืองตนเองเท่านั้น และห้ามทหารออกรบรึเข้าร่วมศึกสงครามใดๆ ทั้งสิ้น)
เมื่อกว่า2500ปีมาแล้ว กรีกไม่ได้รวมเป็นอาณาจักร แต่เป็นรัฐอิสระจำนวนมาก เช่น เอเธนส์ โครินธ์ และสปาทาซึ่งต่างก็มีกฎหมายและระบบการปกครองเป็นของตนเอง ชาวกรีกอยู่ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่ ตรุกี อียิปต์ตอนเหนือ  เทอโมไพลาย กษัตริย์เลโอนิดาสคะเนจากชัยภูมิแล้วจึงให้วางกำลังทหารส่วนหนึ่งไว้บนที่สูงและบริเวณปากช่องเขา พอทหารเปอร์เซียเดินทัพเข้ามาทางหุบเขาที่เป็นบริเวณแคบอยู่แล้วก็ถูกกำลังของเลโอนิดาสซุ่มโจมตีจนต้องสูญเสียไพร่พลไปจำนวนมากสองวันแรกของการรบนั้นสถาณการณ์อยู่ข้างฝ่ายกรีก ตอนแรกฝ่ายเปอร์เซียส่งทหารชาวเมเดส(Medes)เข้าเป็นหน่วยแนวหน้า แต่เมื่อชาวเมเดสอันเหี้ยมหาญต้องมาเจอกับยุทธวิธีแบบ”ฟาแลงซ์”(phalanx)ของชาวกรีกเข้าก็ต้องสิ้นท่าครับตายกันเกลื่อนบริเวณ แม้ต่อมาเซอร์ซิสได้ส่งทหารหน่วยอมตะ(Immortal)จำนวน 10,000นายซึงเป็นทหารหน่วยที่เยี่ยมที่สุดเข้าต่อกรแต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน การรบช่วงแรกชัยชนะจึงตกเป็นของกรีก ะหว่างที่คิดหาทางจะโจมตีทัพกรีกอยู่นั้นก็เหมือนสวรรค์เข้าข้างเปอร์เซีย มีชาวกรีกทรยศชื่อ”เอพิเทส”(Ephialtes)ได้มาเสนอว่าจะพาเซอร์ซิสไปชมพื้นที่ของช่องเขาแห่งนี้โดยแลกกับรางวัล  เอพิเทสพากษัตริย์เปอร์เซียไปชมช่องเขารอบๆ และเส้นทางแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่รกไปด้วยพุ่มไม้หนามแต่ว่าสามารถไปทะลุที่หลังค่ายชาวกรีกได้(ต่อมาชื่อ”เอพิเทส”นี้ได้ถูกนำมาต่อท้ายกลายมาเป็นคำว่า”Ephialtes the tratiors” หรือเอพิเทสคนขายชาติ โดยชื่อของเขา
ได้กลายมาเป็นคำศัพท์ในภาษากรีกซึ่งถ้าแปลเป็นอังกฤษจะหมายความว่า “nightmare” ฝันร้ายนั่นเอง)ในวันที่สามตอนรุ่งสางแม่ทัพเปอร์เซียได้นำทหารหน่วยอมตะจำนวนหนึ่งไปตามเส้นทางลับนี้และเจอกองทหารชาว”โพเชี่ยน”1,000นาย ซึ่งเลโอนิดาสให้มาเฝ้าเส้นทางไว้ ฝ่ายเปอร์เซียได้ทำการยิงห่าฝนธนูจำนวนมากไปยังทหารโพเชี่ยนที่ส่วนใหญ่ยังหลับอยู่ ก่อนเข้าประจัญบานจนทหารโพเชี่ยนแตกกระบวนถอยหนีไปหมด ทำให้เปอร์เซียสามารถตียึดเส้นทางนี้ได้อย่างง่ายดาย  เมื่อตะวันขึ้นเลโอนิดาสจึงทราบว่ากองทัพของตนตอนนี้ถูกล้อมกรอบเสียแล้วเขาจึงทำการเรียกประชุมแม่ทัพนายกองทั้งหมด โดยขุนศึกของเอเธนส์และนครกรีกอื่นๆ เสนอว่าควรถอยทัพกลับไปขณะที่ยังมีโอกาส หลังการประชุมกษัตริย์เลโอนิดาสจึงออกคำสั่งที่กล้าหาญเยี่ยงวีรบุรุษ คำสั่งคือให้ทัพจากนครกรีกอื่นๆ ถอยทัพไปรวมพลกับกองทัพพันธมิตรที่ตั้งค่ายรออยู่ ส่วนตนเองพร้อมทหารสปาร์ตา “300”
นายจะคอยยันถ่วงเวลาทหารเปอร์เซียไว้เพื่อให้ทัพกรีกหนีไปอย่างปลอดภัย โดยที่มีทหารจากนคร”เทปเซียน”(Thepsians)จำนวน700นายซึ่งนำโดยแม่ทัพ”เดโมฟิลัส” ตัดสินใจที่จะอยู่ช่วยสปาร์ตาอีกแรงหนึ่งด้วย

              โดยในวันนั้นเลโอนิดาสได้จัดการแจกจ่ายเสบียงให้ทหารของตนกินกันให้เต็มที่พร้อมทั้งกล่าวปลุกใจทหารของตนว่า(Tonight we will dine in Hell) “คืนนี้เราจะฉลองมื้อค่ำกันในนรกภูมิ” โดยหลังจากนั้นเมื่อทหารกรีกอื่นๆ เริ่มทยอยหนีจากค่ายไปแล้วทหารสปาร์ตา300นายและทหารเทปเซียนได้เดินทัพออกมาจากค่ายและได้เข้าประจัญบานกับทัพเปอร์เซียในที่โล่งทหารหลายคนโดนธนูยิงตายตั้งแต่ยังไม่ตะลุมบอน ที่รอดจากคมธนูต่างต่อสู้อย่างถวายชีวิตด้วยรู้ว่าตนจะไม่มีโอกาสรอดกลับไป
บ้านเกิดเมืองนอนแล้ว ทั้งหอกและดาบสั้นถูกนำมาใช้ประมือกันในระยะใกล้อย่างเหี้ยมโหด ถึงแม้ทหารสปาร์ตาแต่ละคนจะเป็นเผ่าพันธุ์นักรบและได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่ด้วยจำนวนเพียงน้อยนิดจึงทำให้ตกเป็นรองและถูกฝ่ายเปอร์เซียฆ่าล้างบางจนเกลี้ยง  หนึ่งในจำนวนนี้ยังรวมถึงกษัตริย์เลโอนิดาสซึ่งได้ทรงสิ้นพระชนม์ในที่รบนั้นด้วย จากนั้นทัพเปอร์เซียได้ทำการล้อมค่ายของชาวกรีกที่ตอนนี้เหลือทหารเทปเซียนและธีบานส์อยู่ไม่มาก ทหารกรีกที่เหลือในค่ายตอนนี้ต่างเข้าทำการรบครั้งสุดท้ายอย่างไว้ลายด้วยอาวุธทุกอย่างที่พอจะหามาได้

              ส่วนทหารธีบานส์ภายใต้การคุมของแม่ทัพ”เลออนไธเดส”ได้แสดงความขี้ขลาดออกมาโดยได้ยกมือทิ้งอาวุธยอมจำนนทันที แต่ชาวเปอร์เซียซึ่งไม่ฟังเสียงก็ได้ทำการล้อมค่ายแล้วยิงธนูเป็นห่าฝนเข้าสังหารทหารในค่ายที่เหลือจนเกือบหมด

             เมื่อเสร็จศึกบริเวณช่องเขากษัตริย์เซอร์ซิสได้ทำการตัดหัวของเลโอนิดาสจากร่างอันสิ้นลมของเขาและนำร่างที่เหลือไปตรึงกับแผ่นไม้ แต่ภายหลังกษัตริย์เซอร์ซิสรู้สึกว่าตนลบหลู่เกียรติของกษัตริย์เลโอนิดาสผู้ห้าวหาญจึงได้สำนึกเสียใจขึ้นมาพระองค์จึงสั่งให้บรรจุศพของเลโอนิดาสไปฝังอย่างสมเกียรติและทำแท่นหินรูปสิงโตปักไว้เหนือหลุมในบริเวณช่องเขาเธอร์ไมโพลีนั่นเอง 40ปีต่อมาพระศพของเลโอนิดาสจึงถูกส่งคืนกลับสปาร์ตา

             จากเหตุการณ์นี้ทำให้เปอร์เซียสูญกำลังรบหลักไปหลายหมื่นนายด้วยน้ำมือของทหารสปาร์ตาแค่ไม่กี่หยิบมือ กษัตริย์เซอร์ซิสจึงเร่งเดินทัพไปจนถึงกรุงเอเธนส์และทำการเผาเมืองจนวอดวายไปหมดด้วยความแค้น แต่ทว่าชาวเมืองไหวตัวทันก่อนและได้ชิงหลบหนีไปหมดแล้วจึงเป็นการเผาเมืองเปล่าๆ

              ส่วนทหารพันธมิตรนั้นได้ย้ายกองทัพไปซ่อนที่เมืองชายฝั่งบนเกาะแห่งหนึ่งชื่อ”ซาลามิส”เพื่อรอรับการโมตีจากเปอร์เซีย เมื่อกองเรือเปอร์เซียตามมาทันแม่ทัพกรีก”เธมิสโตคลิส”จึงสั่งให้ทัพเรือเอเธนส์ระดมยิงลูกไฟจากเรือ เพื่อทำการโจมตีแบบไม่ให้เปอร์เซียตั้งตัวและทำการหันหัวเรือเข้าชนเรือเปอร์เซียจนเสียหายไปมากถึง 200กว่าลำ (เรือกรีกสมัยนั้นนิยมทำหัวให้แหลมและติดเหล็กยาวปลายแหลมที่ทำเป็นรูปต่างๆไว้เพื่อสะดวกเวลาพุ่งชนเรือข้าศึกให้จมลง)

ทัพเรือเปอร์เซียทนความสูญเสียไม่ไหวจึงต้องถอนทัพกลับ ส่วนทัพบกนั้นได้เข้าตะลุมบอนกับทัพพันธมิตรกรีก ซึ่งตอนนี้ได้ระดมพลมาได้จำนวนมาก (รวมทั้งจากนครสปาร์ตาที่ตอนนี้หมดหน้าเทศกาลคาร์เนี่ยนแล้ว) ทัพกรีกเวลานี้มีการเตรียมตัวมาอย่างดีและก็เป็นกรีกที่ชนะได้เกือบจะทุกสมรภูมิ จนการรบไปจบลงที่สมรภูมิสุดท้ายบริเวณเมือง”พลาเทีย”ซึ่งหลังจากนั้นแม่ทัพกรีกได้มีการตั้งฆ่าหัวของเอพิเทสที่ทรยศชาวกรีกไว้ด้วย ต่อมาชายชื่อ”อาเธนาเดส”ได้เป็นผู้สังหารเอพิเทสผู้ทรยศ

Saladin

        ซาลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบนุอัยยูบ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ เกิดเมื่อ ค.ศ.1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และ เสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1193 ที่เมืองดามัสคัส เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ปกครองมุสลิมผู้มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นสุลต่านมุสลิมผู้ปกครองอียิปต์ ซีเรีย เยเมนและปาเลสไตน์และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบีย์ ในสงครามต่อต้านการรุกรานของนักรบครูเสด ศอลาฮุดดีนประสบความสำเร็จในขั้นสุดท้าย
ด้วยการยึดเมืองเยรูซาเลมกลับคืนมาได้ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ซึ่งทำให้การยึดครองของพวกแฟรงค์เป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง 

        ศอลาฮุดดีนเกิดในครอบครัวชาวเคิร์ด ในคืนที่เขาเกิด นัจญ์มุดดีน อัยยูบ พ่อของเขาได้รวมคนในครอบครัวเดินทางไปยังเมืองอาเล็ปโปเพื่อไปรับใช้อิมาดุดดีน ซางกี ผู้ปกครองชาวเติร์กที่มีอำนาจในซีเรียตอนเหนือ เขาเติบโตในเมืองบะอัลบักและดามัสคัส แต่ในตอนเริ่มแรกนั้นศอลาฮุดดีนให้ความสนใจในเรื่องของศาสนามากกว่าการฝึกฝนทางทหาร เขาเริ่มต้นอาชีพอย่างเป็นทางการเมื่อได้เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ของอะซัดดุดดีน ชิรกูห์ ลุงของเขาซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของเจ้าชายนูรุดดีน
ลูกชายและทายาทผู้สืบอำนาจต่อจากซางกี ศอลาฮุดดีนได้ประสบการณ์ในการรบระหว่างการเดินทางออกศึกสามครั้งยังอียิปต์ภายใต้การนำของชิรกูห์เพื่อป้องกันการรุกราน
ของพวกครูเสด เขาจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการเติบโตและแพร่ขยายสถาบันต่าง ๆ ของมุสลิม เขาให้การอุปการะนักวิชาการและนักเผยแผ่คำสอนอิสลาม ก่อตั้งวิทยาลัยและมัสญิดสำหรับคนเหล่านั้นและแนะนำให้บรรดานักวิชาการเขียนงานวิชาการออกมาโดยเฉพาะเรื่องการญิฮาด ฟื้นฟูขวัญกำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน

         ศอลาฮุดดีนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนดุลอำนาจทางทหารให้เขาเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยการที่เขาสามารถรวบรวมและจัดระเบียบกองกำลังที่ไร้ระเบียบวินัยมากกว่าการที่จะใช้เทคนิคใหม่ ๆ ทางทหาร ในที่สุด เมื่อกำลังทหารของเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพครูเสด

               ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนก็สามารถทำลายกองทัพของพวกครูเสดได้ที่ฮัตตีนใกล้กับทะเลสาบไทเบเรียในปาเลสไตน์ตอนเหนือ สงครามครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่พวกครูเสดอย่างหนัก จนกองทัพมุสลิมสามารถเข้ายึดราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้เกือบทั้งหมด เมืองอัคเร, โตรอน, เบรุต, ไซดอน, นาซาเร็ธ, ซีซาเรีย นะบลุส, ญัฟฟาและอัสคาลอนได้ตกเป็นของมุสลิมภายในสามเดือน 

              วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่พวกครูเสด เมื่อเมืองเยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองสำคัญต่อทั้งมุสลิมและคริสเตียนได้ยอมจำนนต่อกองทัพของเขา หลังจากที่ตกอยู่ในมือของพวกแฟรงค์มาเป็นเวลา 88 ปี ชาวเมืองเยรูซาเลมได้รับการปฏิบัติจากกองทัพของศอลาฮุดดีนอย่างดีและมีอารยธรรม ผิดกับเมื่อตอนที่พวกแฟรงค์เข้ามายึดครองซึ่งทำให้ชาวเมืองต้องถูกสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหดทารุณนับหมื่น ๆ คน

Richard(ริชาร์ดใจสิงห์)

         พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ(8 กันยายน พ.ศ 1700 – 6เมษายน พ.ศ.1742)ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษระหว่างปี พ.ศ 1732 ถึง พ.ศ. 1742 มักถูกเรียกพระนามว่า          ริชาร์ดใจสิงห์  (Richard the Lionheart)

         เนื่องจากในสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษในหมู่ชาวชนบท และในวรรณกรรมก็มักจะกล่าวถึงพระองค์ในแง่นั้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงมีพระชนม์ชีพตรงกับต้นสมัยอาณาจักรเชียงแสน หรือ ก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยประมาณ 100 ปี     ริชาร์ดใจสิงห์เป็นโอรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายองค์ที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษดังนั้นจึงไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ทรงเป็นโอรสคนโปรดของพระมารดา คือพระนางเอเลเนอร์แห่งอากีแตน ผู้มีเชื้อสายฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในสตรีผู้มั่งคั่งที่สุดในยุโรปสมัยยุคกลาง   ชาร์ดเป็นโอรสองค์เล็กร่วมพระมารดาเดียวกันกับมารี เดอ ชองปาญจ์ และ อเล็กซิส แห่งฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นพระอนุชาของวิลเลียม เค้าท์แห่งปัวติเยร์ เฮนรียุวกษัตริย์ และ มาทิลดา แห่งอังกฤษ เป็นพระเชษฐาของจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี เลโอนอรา แห่งอากิเตน โจอาน ปลองตานเนต์ และ จอห์น แห่งอังกฤษ แม้ว่าจะประสูติที่พระราชวังโบมอนต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

         ต่อมา พระองค์ได้ถือเอาฝรั่งเศสเป็นประเทศบ้านเกิด เมื่อพระมารดาและพระบิดาแยกทางกันอย่างเป็นทางการ พระองค์
ได้อยู่ในการดูแลของพระมารดา และได้รับการแต่งตั้งจากพระนางให้เป็นดัชชีแห่งแคว้นอากิเตนในปีค.ศ. 1168 และแห่งแคว้นปัวติเยร์
ในปีค.ศ. 1172 อันเป็นรางวัลปลอบใจให้เนื่องจากเฮนรียุวกษัตริย์พระเชษฐาได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฏราชกุมารในระยะเวลาพร้อมๆกัน
ริชาร์ดและจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี พระเชษฐาได้เรียนรู้ที่จะปกป้องมรดกของตนเองตั้งแต่วัยรุ่น พระองค์เป็นผู้มีการศึกษาดี
สามารถแห่งบทกวีเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปรว็องซ์

                พระองค์ยังทรงมีรูปร่างหน้าตาดี ผมสีทอง ตาสีฟ้า สูงประมาณหกฟุตสี่นิ้ว (193 เซนติเมตร) โดดเด่นในกิจกรรมทางการทหาร และความสามารถทางการเมืองและการทหารต้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญและเด็ดเดี่ยว และสามารถควบคุมบุคคลชั้นสูงที่ไม่มีผู้ปกครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับโอรสอีกสองพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ริชาร์ดไม่ค่อยนับถือพระบิดาเท่าใดนัก อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ และ ความรับผิดชอบ ในปีค.ศ. 1170 เฮนรียุวกษัตริย์ ได้ขึ้นครองราชบังลังก์อังกฤษและทรงพระนามว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 3 นักประวัติศาสตร์จะเรียกพระองค์ว่า “เฮนรียุวกษัตริย์” เพื่อไม่ให้สับสนกับกษัตริย์องค์ต่อมาที่เป็นหลานของพระองค์ และ ทรงพระนามว่าเฮนรีเช่นกัน

บาเควโร(vaquero)บรรพบุรุษของพวกคาวบอย

                 สวัสดีครับ เพื่อนๆวันนี้เรามารู้จัก บรรพบุรุษของคาวบอย ซึ่งเรียกกันว่า ”บาเควโร” กันดีกว่าน่ะครับ

”บาเควโร”(vaquero)เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่ชำนาญการขี่ม้า และ ดูแลฝูงปศุสัตว์ในประเทศสเปนซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกลางของทวีปยุโรป หน้าที่หลักของพวกเค้าคือ การดูแลฝูงปศุสัตว์ให้กับเจ้าที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่า ”ฮาเซนดาดอส”(hacendados)ซึ่งเหล่าบาเควโร จะคอยดูแล ฝูงปศุสัตว์ให้หากินอยู่อย่างปลอดภัยในพื้นที่ของ เจ้าที่ดินนั้นๆ

                คงสงสัยกันว่า แค่ดูแลฝูงปศุสัตว์ทำไมต้องขี่ม้าด้วย เพราะ อาจเคยเห็นคนเลี้ยงวัวในเมืองไทย ก็เดินต้อนวัวไม่ต้องขี่ม้านี่น่า??

เหตุที่พวกบาเควโรต้องขี่ม้าก็เพราะฝูงปศุสัตว์ที่พวกเขาดูแลมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดมหาศาลเพื่อให้มีอาหาร (หญ้า) เพียงพอ ซึ่งนั้นเองเป็นเหตุผล เพราะให้เดินเท้า เพื่อดุแลฝูงปศุสัตว์ในพื้นที่กว้างขวางขนาดนั้นคงจะเหนื่อยตายซะก่อน เลยเป็นเหตุผลให้ต้องมีบาเควโรซึ่งต้องขี่ม้า ทำงานในหน้าที่ดังกล่าว

                พวกบาเควโรอยู่แต่สเปนจนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้เริ่มอพยพเข้าสู๋โลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) โดยเหล่า ควิสทาดอร์ (Con-quistadors ชาวสเปน ซึ่งเป็นทั้งทหาร นักสำรวจ และ นักผจญภัย) และ ผู้อพยพชาวสเปนได้นำวิธีการทำปศุสัตว์เข้าสู่ทวีปอเมริกาที่ซึ่งธรรมเนียมของบาเควโร ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพภูิมประเทศ สภาพแวดล้อม และ ปัจจัยทางวัฒนธรรมต่างๆในดินแดนแห่งใหม่ และ พวกเค้าก็เป็นบรรพบุรุษของคาวบอยในเวลาต่อมา

คาวบอย(Cowboy)คำนี้มีที่มาจากไหน

                    สวัสดีครับ เพื่อนๆวันนี้ผมจะมาบอกที่มาของคำว่า ”คาวบอย”(cowboy) น่ะครับ คำว่า ”คาวบอย”(cowboy)ซึ่งใช้เรียกกลุ่มคน ขี่ม้า ยิงปืน และต้อนฝูงสัตว์บริเวณดินแดนภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเมื่อครั้งยุคบุกเบิกนั้นคือคำสัพท์ในภาษาอังกฤษที่เพิ่งปรากฎครั้งแรกราวๆปี ค.ศ1715-1725 แปลมาจากคำว่า ”บาเควโร”(vaquero)ในภาษาสเปนที่ใช้เรียก กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าซึ่งทำหน้าที่ดูแล ปศุสัตว์(โดยเฉพาะฝูงวัว) ให้แก่ เจ้าของที่ดิน

                   หลายคนอาจจะสงสัย ทั้งๆที่เรามองคนกลุ่มนี้เป็นผู้ใหญ่แต่ทำไมเราถึงเรียกพวกเขาว่า ”คาวบอย” (cowboy-เด็กเลี้ยงวัวเพศชาย)ล่ะ ??

 สาเหตุที่ใช้คำว่า ”คาวบอย” เรียกว่ากลุ่มคนดุแลฝูงปศุสัตว์นั้น มีที่มาจากอายุเริ่มแรกของการฝึกฝนเพื่อเป็นคาวบอย โดยคาวบอยส่วนมากมักเริ่มอาชีพนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ เพื่อรับการฝึกฝนทักษะต่างๆของการเป็นคาวบอย ไม่ว่าจะเป็นการขี่ม้า การต้อนฝูงสัตว์ หรือ การใช้บ่วงบาศ แต่พวกเขาก็เป็นแค่คาวบอยฝึกหัดซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างจนกว่าพวกเขาจะมีความสามารถพอที่จะถูกจ้าง บ่อยครั้งที่คาวบอยฝีมือดีถูกจ้างตั้งแต่อายุ 12 – 13 ปี และเมื่อทำการว่าจ้าง คาวบอยส่วนมากก็มักจะประกอบอาชีพนี้ไปตลอดชีวิต ถ้าไม่พิการจากอาการบาดเจ็บ หรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นซะก่อน

กำเนิดซามูไร

                  สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกท่านวันนี้ผมขอนำเสนอ เรื่องการกำเนิดของซามูไรน่ะครับ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อกันว่า จุดเริ่มต้นของซามูไรนั้นมีที่มาจากรูปแบบนักรบของญี่ปุ่นแต่เดิม

         เช่น พลธนู พลเดินเท้า ของในช่วงคริสต์ศตวรษที่ 6 เมื่อกลางคริสต์ศวรรษที่ 7 ญี่ปุ่นได้เริ่มมีการรับวัฒนธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ถังเข้ามา และ เริ่มมีการปฏิรูปการปกครอง และ

         สังคมตามแบบราชวงศ์ถังทำให้อิทธิพลของลัทธิขงจื้ออันเป็นแกนหลักของวัฒนธรรมจีนซึ่งสังสอนในเรื่องของความภักดีต่อเจ้านาย ซึ่งคำสอนเหล่านี้ถูกประยุกต์เป็นหลักขอบูชิโด     (วิถีนักรบ)เข้ามายังประเทศญี่ปุ่นด้วย

                  หลังการปฏิรูปการปกครองได้ไม่นานก็ได้มีการประมวลกฎหมายไทโฮออกมาใน ค.ศ702 ซึ่งมีการกำหนดขุนนางออกเป็น 12 ระดับ โดยกลุ่มนักรบที่เรียกว่า ซามูไรนั้นอยู่ใน

         ลำดับที่ 6 ลงมาจนถึงลำดับ 12 ส่วนเหนือกว่านั้นขึ้นไปเป็นขุนนางในราชสำนักที่คอยช่วยเหลือจักรพรรดิบริหารบ้านเมือง ช่วงนี้เรียกว่า ”สมัยเฮอัน” ซึ่งเป็นยุคที่อำนาจสูงสุดใน

         การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ในมือของจักรพรรดิ และ ราชสำนัก จนกระทั่งเวลาผ่านไปจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยเกิดความวุ่นวาย และ การกบฏ

         ของหัวเมืองต่างๆขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้จักรพรรดิมอบอำนาจให้นักรบเพื่อคอยปราบปรามหัวเมืองที่แข็งข้อ และด้วยสาเหตุนี้เอง นัรบของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ”ซามูไร” จึงเริ่มมีอำนาจเพิ่มขึ้น